วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พิธีสร้าง “แมนดาล่าทราย”


พิธีสร้าง “แมนดาล่าทราย” ศักดิ์สิทธิ์ แห่งพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า


ครั้งแรกในประเทศไทย
เมื่อวันที่10 เมษายน ที่ผ่านมา หากใครได้ติดตามชมรายการ“เรื่องจริงผ่านจอ” ทางช่อง7 คงได้เห็นเรื่องราวที่พูดถึงพิธีกรรมการสร้างแมนดาล่าทรายโดยคณะแม่ชีชาวเนปาลกลุ่มหนึ่งซึ่งได้เดินทางมายังประเทศไทยระหว่างวันที่ 29มีนาคม -9 เมษายน เพื่อภารกิจศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ “แมนดาล่าทราย” คืออะไร และมีความพิเศษอย่างไร เรามีเรื่องราวและรายละเอียดให้ติดตาม
ตั้ง แต่ปี 1997 เป็นต้นมาคณะแม่ชีผู้ชำนาญด้านการสร้างแมนดาล่าทราย4 ท่าน ได้แก่ แม่ชีธุบเท็น ซังโม แม่ชีล็อบซัง ดรอลมา แม่ชีธุบเท็น ลับดอน และแม่ชีซังเย โชดรอนแห่งสำนักชีโกปัน ประเทศเนปาล ได้ออกตระเวนไปทั่วสหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ สวิสเซอรแลนด์ ออสเตรีย เยอรมัน ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ทางแถบยุโรปเกือบจะทุกๆ ปี เพื่อแผ่กระจายพลังงานที่ดีและความเมตตาไปสู่ทุกทวีปผ่านทางการสร้างแมนดาล่าทราย ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และวิจิตรสวยงามที่สุดในเชิงพุทธศิลป์และธรรมเนียมการปฏิบัติแห่งพุทธศาสนามหายาน
และในปีนี้ก็นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ที่คุณไอรินออง แห่ง WOFS ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับแม่ชีแห่งพุทธศาสนาสายธิเบตกลุ่มนี้ ให้มาสร้างแมนดาล่าทรายขึ้นที่ วัดธรรมปัญญารามบางม่วง จ.นครปฐม โดยได้เริ่มประกอบพิธีสร้างแมนดาล่าทรายไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 และใช้เวลาในการสร้างทั้งสิ้น 7 วัน แมนดาล่าทรายที่เสร็จสมบูรณ์นี้จะได้รับการเก็บรักษาให้ผู้ศรัทธาเข้าชมเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนที่จะทำลายทิ้งตามขนบธรรมเนียม และจะทำการแจกจ่ายทรายแมนดาล่าบางส่วนให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี ส่วนที่เหลือจะนำไปโปรยทิ้งลงในแหล่งน้ำเพื่อเป็นการแผ่กระจายพรศักดิ์สิทธิ์แห่งการบำบัดรักษาของแมนดาล่า

แมนดาล่าคืออะไร คำว่า “แมนดาล่า”ในภาษาทิเบตคือ “kyil-khor”มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลาง” โดยทั่วไปแล้ว แมนดาล่าจะถูกแสดงไว้เป็นรูปแบบสองมิติ ซึ่งโดยปกติก็จะทำจากกระดาษ สิ่งทอ และผงทรายย้อมสี และโดยเฉพาะสำหรับแมนดาล่าทรายจะมีชื่อเรียกว่า dul-tson-kyil-khor ในภาษาทิเบต ซึ่งแปลว่า “แมนดาล่าที่ทำจากผงสี” แมนดาล่า คือการแสดงออกแห่งสภาวะของการรู้แจ้งอย่างถ่องแท้ และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ แมนดาล่าแสดงให้เห็นวิมานสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้รู้แจ้งอย่างชัดเจน และในกรณีนี้ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งความเมตตาอันเป็นสากล ที่รู้จักกันในนามว่า “เชนรีซิก” ในภาษาทิเบต พระอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต และกวนอิมในภาษาจีน (สำหรับประเทศไทย ก็จะเป็นพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า) อย่างไรก็ตาม ในระดับที่เป็นนัยขึ้นไปอีก แมนดาล่าจะเป็นสัญลักษณ์ของสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งจิตใจเรา ซึ่งสมมติไว้ในรูปแบบของวิมานสวรรค์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะในเนื้อแท้ของเราจะสถิตอยู่ที่ใจกลาง ของวิมานในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง จากมุมมองทางพุทธศาสนา ความเมตตาและปัญญาคือสองปัจจัยซึ่งเป็นแก่นสำคัญในการปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากพันธนาการแห่งความทุกขเวทนาทั้งปวง และทำให้เราบรรลุถึงสภาวะแห่งความสุขที่จริงแท้และยืนนาน ในระหว่างการสร้างแมนดาล่าทรายของพระเชนรีซิก ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา แมนดาล่าจะค่อยๆ ก่อรูปขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาหลายวันที่ทุ่มเทไปพร้อมกับสมาธิอันแรงกล้าและ งานทรายที่ต้องใช้ความอุตสาหะ ในที่สุดแมนดาล่าซึ่งอยู่ภายในจิตใจนี้ก็จะแปรเปลี่ยนไปสู่งานศิลป์สำหรับ ให้ทุกคนได้เห็นและชื่นชม แมนดาล่ายังถูกสร้างขึ้นสำหรับพิธีกรรมรับเข้าที่อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงจะเป็นผู้อนุญาตให้ศิษย์ชั้นสูงเข้าร่วมในการฝึกสมาธิตามแนวตันตระ ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ ใจกลางแมนดาล่า และตัวแมนดาล่าเองล้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบการแสดงออก อันบริสุทธิ์ของจิตใจที่รู้แจ้งอย่างเต็มเปี่ยมของพระพุทธเจ้า ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้ให้การยอมรับ ส่วนแมนดาล่าก็คือสถานที่ซึ่งประกอบการยอมรับ ตลอดพิธีกรรมยอมรับนี้ เมล็ดพันธุ์แห่งความรู้แจ้งจะถูกปลูกฝังไว้ภายในจิตใจแต่ละบุคคล และจากนั้นก็จะได้รับการหล่อเลี้ยงโดยกระบวนการอันทรงพลังของ การประจักษ์ถึงและ
การพิจารณาแมนดาล่า นอกจากนี้ แมนดาล่าพระเชนรีซิกยังจัดเป็นแมนดาล่าแห่งพระพุทธเจ้าทุกองค์ที่มา จากปทุมวงศ์ อย่างเช่น อมิตภพุทธะ และทราบอีกด้วย ในปีนี้ก็นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ที่คุณ ไอรีนออง แห่ง WOFS ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับแม่ชีแห่งพุทธศาสนาสายทิเบตกลุ่มนี้ ให้มาสร้างแมนดาล่าทรายขึ้นที่วัดธรรมปัญญาราม จ.นครปฐม โดยคณะแม่ชีจะเริ่มประกอบพิธีสร้างแมนดาล่าทรายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 และจะใช้เวลาพำนักอยู่จนกว่าการสร้างแมนดาล่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์โดยประมาณ แมนดาล่าทรายที่เสร็จสมบูรณ์นี้จะได้รับการเก็บรักษาให้ผู้ศรัทธาเข้าชมเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนที่จะทำลายทิ้งตามขนบธรรมเนียม และจะทำการแจกจ่ายทรายแมนดาล่าบางส่วนแก่ผู้เข้าร่วมพิธี และส่วนที่เหลือจะนำไปโปรยทิ้งในแหล่งน้ำเพื่อเป็นการแผ่กระจายพรศักดิ์สิ ทธิ์ แห่งการบำบัดรักษาของแมนดาล่า ประโยชน์ของแมนดาล่าทราย การมองไปที่แมนดาล่าทรายจะก่อให้เกิดรอยประทับที่ดีและทรงพลังในจิตใจ แมนดาล่าทรายคือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างสมคุณความดีและความบริสุทธิ์ขึ้น จากพลังในตัวแมนดาล่าเอง ทั้งยังสร้างสมบุญให้แก่ผู้ทำแมนดาล่าทราย ผู้สนับสนุนการสร้างแมนดาล่า และผู้ที่ได้เห็นแมนดาล่าด้วย เพียงแค่ได้เห็นแมนดาล่าก็จะก่อให้เกิดคลังอันยิ่งใหญ่แห่งพลังงานที่ดี และทำให้จิตใจของเราสงบสุขผ่องใส การทำความเข้าใจแมนดาล่าก็หมายถึงการทำความเข้าใจหนทางทั้งหมดในการไปสู่ความรู้แจ้ง แต่ละส่วนของแมนดาล่าเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ และย้ำเตือนผู้ปฏิบัติสมาธิถึงความเข้าใจอันถ่องแท้ สภาวะแห่งจิตใจ และความรู้สึกที่เรากำลังพยายามที่จะบรรลุให้ถึง ท่านลามะ โซปา รินโปเช กล่าวไว้ว่าเพียงแค่เห็นภาพของแมนดาล่าทราย ก็เป็นพลังอันเหลือเชื่อในการชำระกรรมไม่ดีทั้งห้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องได้ กรรมชั่วที่ต่อเนื่องทั้งห้าได้แก่ การฆ่าบิดา การฆ่ามารดา การทำให้พระพุทธเจ้าเลือดตกยางออก การฆ่าพระอรหันต์ การสร้างเหตุให้หมู่สงฆ์แตกแยก แม้แต่กรรมชั่วอันหนักหนาเหล่านี้ที่ทำให้เราต้องทุกข์ทรมานนานชั่วกัปชั่ว กัลป์ในโลกันตรนรกก็ยังสามารถชำระให้บริสุทธิ์ได้ ดังนั้นการกระทำที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรมทั้งสิบ ซึ่งก็คือกรรมไม่ดีในชีวิตประจำวัน เช่นการนินทาว่าร้าย ความโลภ และอื่นๆ ก็ย่อมสามารถชำระล้างได้อย่างไม่ต้องสงสัย

ขั้นตอนการทำแมนดาล่าทราย

เริ่มจากการรวบรวมหินคริสตัลสีขาวที่ได้รับการคัดสรรอย่างพิถีพิถัน จากนั้นก็นำมาบดให้มีความหยาบ 3 ระดับ คือ ละเอียด กลาง และหยาบ ก่อนที่จะนำไปผ่านกระบวนการย้อมสีโดยจะมีทั้งสิ้นห้าสี แต่ละสีแทนถึงปัญญาเฉพาะอย่างใน การบรรลุถึงการเป็นผู้รู้แจ้ง ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า แต่ละขั้นตอนในการเตรียมการนี้ต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจได้รับ การปลุกเสกก่อนที่ผงทรายย้อมสีจะถูกนำมาใช้สร้างแมนดาล่าบนแท่นไม้ยกพื้นเรียบขนาด ห้าคูณห้าฟุต
จากนั้นแม่ชีก็ลากเส้นเค้าโครงของแมนดาล่าบนแท่นยกพื้น แต่ละเส้นสายลวดลายเป็นสัญลักษณ์ถึงปัญญาแห่งความสำนึกรู้ เมื่อร่างเค้าโครงเสร็จแล้ว ก็จะว่างทรายสี โดยการเททรายออกจากกรวยโลหะทรงยาวและแคบที่เรียกว่า chak-pu แม่ชีแต่ละคนจะถือกรวยไว้ในมือหนึ่งในขณะที่อีกมือหนึ่งถือท่อนโลหะ อีกอันหนึ่งไว้สำหรับถูกับผิวกรวยด้านนอกที่เป็นรูตะแกรงการสั่นสะเทือนจะทำให้ทรายไหลลงมาเหมือนกับของเหลว
ความจำเป็นที่ต้องใช้ทั้งกรวยและท่อนโลหะโดยจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ในกระบวนการเหล่านี้ ช่วยให้เราระลึกว่าไม่มีสิ่งใดที่คงอยู่ได้โดยไม่พึ่งพาศัยซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากการพึ่งพากันบนความหลากหลายของเหตุปัจจัย
ตามธรรมเนียมแล้ว แมนดาล่าทรายส่วยใหญ่จะถูกทำลายไม่นานหลังจากที่สร้างเสร็จสิ่งนี้ก็คือการเปรียบเทียบถึงความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต ทรายจะถูกกรวดและนำไปใส่ไว้ในโถและเพื่อความสมบูรณ์ในการให้การบำบัดรักษา ครึ่งหนึ่งของทรายนี้จะถูนำไปแจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้ร่วมงานเมื่อเสร็จสิ้นพิธี ในขณะที่ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปทิ้งลงสู่แหล่งน้ำที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง จากนั้นน้ำก็จะนำพาพรแห่งการบำบัดรักษานี้ไปสู่มหาสมุทร และจากจุดนั้นก็จะแพร่กระจายไปทั่วโลกเพื่อการบำบัดรักษา กฎแห่งการสูญสลายนี้สะท้อนให้เห็นถึงแก่นคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ว่า สิ่งใดก็ตามที่มีขึ้นด้วยเหตุและปัจจัยย่อมไม่จีรังยั่งยืน การสูญสลายของแมนดาล่าทรายที่สวยงามและเปราะบางซึ่งเกิดจากผลของการทำงานที่ประณีตและพิถีพิถันเป็นเวลาหลายชั่วโมง จึงมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นความเข้าใจในเรื่องความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง


แมนดาล่าทำจากอะไร?

แมนดาล่าอาจสร้างขึ้นจากเพชรล้ำค่า ดอกไม้ เมล็ดข้าวแห้ง หินสี หรือทรายสีก็ได้ สำหรับการสร้างแมนดาล่าทราย ทรายนับพันเม็ด ตั้งแต่แบบที่ละเอียดที่สุดไปจนถึงหินทรายเม็ดหยาบ จะถูกทำขึ้นจากหินอ่อนตกผลึกสีขาวที่ได้รับการคัดสรรอย่างพิถีพิถัน และจะถูกนำไปบดให้มีความหยาบต่างๆ กัน จากนั้นผงทรายเหล่านี้ก็จะนำไปผ่านกระบวนการย้อมสี โดยจะมีทั้งสิ้นห้าสี แต่ละสีแทนถึงปัญญาเฉพาะอย่างในการบรรลุถึงการเป็นผู้รู้แจ้ง ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า แต่ละขั้นตอนในการเตรียมการนี้ต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจและได้รับการปลุกเสกในกระบวนการก่อนที่ผงทรายย้อมสีจะถูกนำมาใช้สร้างแมนดาล่าบนแท่นพื้นเรียบ กรวยโลหะที่ใช้นั้นเรียกว่า chak-pu เมื่อกรวยที่มีลักษณะแคบและยาวนี้ถูกนำมาถูกับชิ้นเขาสัตว์ ทรายสีที่บรรจุอยู่ภายในกรวยก็จะไหลออกมาในจังหวะที่สม่ำเสมอ เครื่องขูดที่ทำจากไม้หรือที่เรียกว่า shing-ga ถูกนำมาใช้จัดขอบให้ตรงและจัดเม็ดทรายที่กระจัดกระจายให้สะอาดเรียบร้อย ความจำเป็นที่ต้องใช้ทั้งกรวยและเขาสัตว์โดยจะขาดสิ่งใดไปไม่ได้ในกระบวนการเหล่านี้ช่วยเตือนให้เราไม่ลืมว่า ไม่มีสิ่งได้ที่คงอยู่ได้โดยไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากการพึ่งพากันบนความหลากหลายของเหตุปัจจัย ผงทรายย้อมสี ซึ่งมีทั้งสีน้ำเงิน ขาว เหลือง แดง เขียว ดำ น้ำตาล ส้ม ฟ้า เหลืองอ่อน แดง และเขียวอ่อน จะถูกนำมาใช้ ในการฝึกปฏิบัติตามแนวตันตระ สีขาว เหลือง แดง และน้ำเงินอมดำจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกระทำอันสันติ เพิ่มพูน ทรงอำนาจ และดุร้าย ตามลำดับ การกระทำดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว แต่มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตอื่นๆ อัตราส่วนที่แน่นอนและรายละเอียดทั้งหมดในการสร้างแมนดาล่าทรายถูกกล่าวไว้ในตำราโบราณทางพุทธศาสนา แม่ชีจะทำตามภาพประติมานวิทยาทางศาสนาอย่างพิถีพิถัน เพราะทุกๆ ส่วนของแมนดาล่าสื่อสัญลักษณ์ถึงแง่มุมที่แตกต่างกันของคำสอนและการตระหนักถึงผู้ตรัสรู้ประจำแมนดาล่านั้นๆ
กำหนดขั้นตอนของพิธีกรรม
สำหรับแมนดาล่าทรายที่จะสร้างขึ้นภายในวัดธรรมปัญญารามจะได้รับการเก็บรักษาไว้ ณ แท่นยกพื้นเดิม โดยจะครอบไว้ในกรอบกระจกเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนที่จะทำลายทิ้งตามธรรมเนียมปฏิบัติ1) พิธีกรรมเริ่มต้นการปลุกเสกแม่ชีเริ่มพิธีด้วยการปลุกเสกพื้นที่จะใช้ในการวาดแมนดาล่าทราย 2) ทำการร่างลายเส้นวิมานสวรรค์ภายหลังจากพิธีปลุกเสก แม่ชีก็จะเริ่มร่างลวดลายของแมนดาล่าทันที โดยปกติขั้นตอนนี้จะใช้เวลาอย่างน้อยสามชั่วโมงจึงจะแล้วเสร็จ3) การสร้างแมนดาล่าทรายอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดช่วงเวลาที่สร้างแมนดาล่านี้ แม่ชีจะเทเม็ดทรายนับล้านเม็ดจากกรวยโลหะแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า chak-pur แมนดาล่าที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีขนาดประมาณ 5x5 ฟุต และใช้เวลาสามถึงห้าวันเต็มๆ ในการทำงาน

4) การสร้างแมนดาล่าให้เสร็จสมบูรณ์การสร้างแมนดาล่าทรายจะเสร็จสิ้นลงโดยแม่ชีจะทำพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากนั้นแมนดาล่าทรายก็จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีสำหรับให้ผู้มาเข้าชมและเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติทางจิตใจ
หากเราตั้งจิตภาวนาไปที่องค์พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เราก็จะถึงซึ่งความรู้แจ้งได้ในที่สุด พร้อมๆกัน เรายังได้รับพลังแห่งการบำบัดรักษาที่เพิ่มพูนขึ้น ทั้งต่อตัวเราเอง และต่อผู้อื่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆทั้งทางกายและทางจิตใจ รวมทั้งความทุกข์ทั้งหลายก็จะลดลง
แมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า
แมนดาล่าทรายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ณ วัดธรรมปัญญารามบางม่วงครั้งนี้ คือแมนดาล่าทรายแห่งพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่ท่านเซียงป้อ เจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญารามบางม่วง ได้จัดให้มีโครงการหล่อพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นจากเงินแท้ๆ เพื่อเป็นพระประธาน ดังนั้นทางคณะแม่ชีจึงได้สร้างแมนดาล่าทรายพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นให้เป็นการสอดคล้องกัน เพื่อเป็นการเสริมอานุภาพแห่งการประสาทพรแห่งการบำบัดรักษา เพราะพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าแห่งการบำบัดรักษาโรคภัย ผู้ที่ได้บูชาพระองค์ด้วยจิตศรัทธาหรือผู้ที่ได้เห็นแมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ทรมาน และเคราะห์ร้ายทั้งปวง
การได้เห็นหรือได้เพ่งสมาธิไปที่แมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พร้อมๆ กับสวดบทบูชาประจำองค์พระไปด้วย จะช่วยให้เราได้ชำระบาปกรรมที่สั่งสมมาเป็นเวลานับกัลป์ได้ ผู้ที่เจ็บป่วยใกล้ละจากโลก หากได้เห็นแมนดาล่าทรายนี้ ก็จะไม่รู้สึกทุกข์ทรมาน และจะได้ไปเกิดในภพภูมิใหม่ที่ดี และไม่ได้ไปเกิดในภพของเดรัจฉาน
องค์ประกอบที่ปรากฏในแมนดาล่าทรายทุกส่วนล้วนสื่อความหมายสีทั้งสี่ที่อยู่แต่ละด้านของแมนดาล่าทราย เป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่และพระพุทธเจ้าทั้งสี่องค์ ได้แก่

1 สีเหลือง คือ พระรัตนสัมภวะพุทธะ ผู้ปัดเป่าความทุกขเวทนา
2 สีขาว คือ พระไวโรจนะพุทธะ ผู้ขจัดความเขลา
3 สีเขียว คือ พระอโมฆสิทธิพุทธะ ผู้ปัดเป่าความอิจฉาริษยา
4 สีน้ำเงิน คือ พระอักโษภยะพุทธ ผู้ขจัดความเกลียดชัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น